การศึกษาปฐมวัยสมัยก่อนมีระบบโรงเรียน

การศึกษาปฐมวัยสมัยก่อนมีระบบโรงเรียน
          การศึกษาของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นับเป็น การศึกษาก่อนมีระบบโรงเรียน คือ ยังไม่มีระบบโรงเรียนสำหรับเรียนหนังสือโดยเฉพาะ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีการกำหนดเวลาเรียนและไม่มีการวัดผลการศึกษา
         การศึกษาปฐมวัยในสมัยก่อนมีระบบโรงเรียน มีการจัดการศึกษาที่สามารถแบ่งออกได้ตามประเภทของเด็ก คือ

1.              การศึกษาปฐมวัยสำหรับเจ้านายเชื้อพระวงศ์
เด็กนักเรียนโรงเรียนราชกุมาร

การจัดการศึกษาปฐมวัยสำหรับเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ส่วนใหญ่จะจัดการศึกษาในพระบรมมหาราชวัง โดยจ้างอาลักษณ์มาสอนหนังสือแก่เจ้านายอายุประมาณ 3 ปีขึ้นไปจนถึง 7 ปี การเรียนในระดับนี้ยังเรียนรวมกันทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนราชกุมารขึ้นในปี พ.ศ. 2435 และโรงเรียนราชกุมารีในปี พ.ศ. 2436 สำหรับเป็นสถานศึกษาของสมเด็จลูกยาเอและพระเจ้าลูกยาเธอที่ยังทรงพระเยาว์

2.              การศึกษาปฐมวัยสำหรับบุคคลที่มีฐานะดี
เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะดี พ่อแม่จ้างคนมาสอนหนังสือแก่เด็กที่บ้าน ซึ่งได้แก่  สอนการอ่านเขียนภาไทย ภาษาบาลี ความรู้เบื้องต้นอื่น หรือพ่อแม่อาจจะสอนตามความสามารถของตนเองหรือสอนอาชีพของตนให้แก่เด็ก เช่น หัตถศึกษา เด็กหญิงที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะมีโอกาสที่จะได้เรียนและได้รับการอบรมเกี่ยวกับกิจการบ้านเรือน งานฝีมือการประกอบอาหาร การทอผ้า หรือประกอบอาชีพของครอบครัว

3.              การศึกษาปฐมวัยสำหรับบุคคลธรรมดาที่พ่อแม่มีฐานะยากจน
พระสงฑ์สอนหนังสือลูกศิษย์ที่กุฏิ
เมื่อสมัยที่ไม่มีโรงเรียน




วัด เป็นสถานศึกษาของไทยในอดีต
พ่อแม่ที่มีฐานะยากจนจะนำลูกชายฝากไว้ที่วัดให้เป็นลูกศิษย์วัดเพื่อเรียนหนังสือและศึกษาพระธรรมวินัย ถ้าเป็นเด็กที่ยังเล็กมากพระสงฆ์ก็จะทำหน้าที่เลี้ยงดู  ตลอดจนการอบรมสั่งสอนและการศึกษาด้วยตามลำดับ การจัดการศึกษาในวัดจะมีพระสงฆ์เป็นผู้สอนและจัดให้เด็กเรียนตามกุฏิ วิหาร หอสวดมนต์ หรือหอฉัน แล้วแต่ความสะดวกเหมาะสม โดยแบ่งนักเรียนเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทแรกเป็นพระภิกษุ ประเภทที่ 2 เป็นสามเณร และประเภทที่ 3 เป็นศิษย์วัดที่เป็นนักเรียนชั้นมูลมีอายุตั้งแต่ 7-8 ปี ขึ้นไป ซึ่งมีทั้งที่พ่อแม่เอามาฝากให้เป็นศิษย์วัดเพื่อศึกษาเล่าเรียนและกินอยู่ประจำที่วัด และอีกพวกหนึ่งไปเช้าเย็นกลับ
นอกจากวัดที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาอบรมเด็กธรรมดาที่พ่อแม่ยากจนแล้ว ในปี พ.ศ.2433 พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมณ์ กรมขุนสุทธาสินีนาฎ พระอัครชายาเธอ ในรัชกาลที่ 5 ได้ดำริแต่งตั้งโรงเลี้ยงเด็กขึ้นที่ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง โดยรับเลี้ยงเด็กชายหญิง ซึ่งภายในโรงเลี้ยงเด็กประกอบไปด้วย โรงเลี้ยงอาหาร โรงครัว โรงพยาบาล มีบริเวณกว้างขวางร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ ไม้ดอกและไม้ผล มีสนามหญ้าให้เด็กวิ่งเล่น มีที่ให้เด็กทำสวนครัวและพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นสถานที่ฝึกเด็กเป็นอย่างดี

ดังนั้นจะเห็นว่า การศึกษาปฐมวัยในสมัยนี้ยังไม่ได้รับความสำคัญ เป็นการศึกษาที่ไม่มีแบบแผน ไม่มีดรงเรียนสำหรับเรียนหนังสือโดยเฉพาะ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีกำหนดเวลาเรียน และไม่มีการวัดผลการศึกษา เพราะเด็กส่วนใหญ่ซึ่งเป็นลูกบุคคลธรรมดาที่ฐานะยากจน เด็กชายจะมีโอกาสมากกว่าเด็กหญิงเพราะเด็กชายไปเรียนที่วัด เด็กผู้หญิงผู้ปกครองไม่นิยมให้เรียนหนังสือและไม่มีสถานที่เรียน ถึงแม้จะมีโรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายาเธอที่รับเด็กหญิงไปเลี้ยงดูให้การศึกษาแต่ก็คงรับเด็กได้ในจำนวนจำกัด

2 ความคิดเห็น: