การศึกษาปฐมวัยสมัยมีระบบโรงเรียน

การศึกษาปฐมวัยสมัยมีระบบโรงเรียน
การจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนของประเทศไทยเริ่มต้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปหลายครั้งและได้ส่งข้าราชการชั้นสูงไปศึกษาดูงานยังประเทศต่างๆ เพื่อนนำแบบอย่างการจัดการศึกษามาใช้ในประเทศไทยและตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับลูกหลานของประชาชนทั่วไปเมื่อปี พ.ศ.2427 โดยตั้งขึ้นตามวัดเพื่อจะได้ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อที่ดินและการตั้งโรงเรียน การจัดตั้งโรงเรียนครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาในระบบโรงเรียน มีการกำหนดหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในรูปหลักสูตรมูลศึกษาข้นมาด้วย ภายหลังเมื่อตั้งกรมศึกษาธิการขึ้นในปี พ.ศ.2430 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรมูลศึกษาและขยายการศึกษาออกไปโดยให้วัดและพระอารามต่างๆร่วมจัดการศึกษาในรูปของโรงเรียนมูลสามัญ จนกระทั้งถึงปี พ.ศ.2441 จึงได้มีโครงการศึกษาฉบับแรก เรียกโครงการศึกษา พ.ศ.2441 แล้วจึงมีโครงการศึกษาฉบับอื่นๆตามมาหลายฉบับ ซึ่งมีนโยบายและแนวความคิด ตลอดจนลักษณะการจัดโรงเรียนอนุบาล ดังนี้

1.      นโยบายและแนวความคิด
โครงการศึกษาฉบับแรก คือ โครงการศึกษา พ.ศ.2441 โครงการศึกษาฉบับนี้ได้กล่าวถึงโรงเรียนมูลศึกษา อันเป็นการศึกษาเบื้องแรกหรือการศึกษาปฐมวัย โดยโรงเรียนมูลศึกษาแบ่งออกเป็น
1.1 โรงเรียนบูรพบท รับเด็กอายุ 7 ปี เพื่อฝึกเด็กให้มีความรู้ในชั้นสูงสำหรับเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาต่อไป โรงเรียนบูรพบทมูลศึกษานี้อาจจะจัดเป็นโรงเรียนต่างหากหรือแทรกอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาก็ได้
1.2 โรงเรียน ก.ข. นโม จัดสอนเกี่ยวกับการเขียน อ่าน คิดคำนวณ ตามวิธีอย่างเก่า สถานที่เรียนให้เรียนตามวัดหรือตามบ้าน ไม่กำหนดอายุผู้เรียน เมื่อผู้เรียน เขียน อ่าน คิดเลขได้แล้ว จะได้เข้าเรียนเบื้องต้นสถานศึกษาเป็นลำดับขั้นไป
1.3 โรงเรียนกินเดอกาเตน มีลักษณะการจัดการเรียนการสอนเช่นเดียวกับโรงเรียน ก.ข.นโม
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าโครงการศึกษา พ.ศ. 2441 จะได้กำหนดให้มีโรงเรียนมูลศึกษาดังที่กล่าวมาแล้ว แต่การจัดชั้นมูลยังไม่มีการกำหนดหลักสูตร ไม่มีระเบียบการสอน การจัดการขั้นมูลในช่วงเวลานั้นจึงนิยมฝากไว้ในโรงเรียนประถมศึกษา และเป็นการจัดเพื่อเตรียมเข้าชั้นประถมศึกษา เป็นการจัดกันเองโดยไม่มีหลักสูตร ไม่มีระเบียบการสอน
ปี พ.ศ. 2445 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงการศึกษา พ.ศ. 2441 ขึ้นเพราะได้รับอิทธิพลจากการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี และคณะ ได้กลับจากการศึกษาดูงานจากญี่ปุ่น ซึ่งในระดับการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดให้มีขั้นการศึกษาเบื้องต้นที่เรียกว่าประโยคมูลศึกษา เป็นการจัดชั้นเรียนสอนเด็กให้มีความรู้พื้นฐานเพื่อเรียนต่อในชั้นประถมศึกษา
ต่อมาในโครงการศึกษา พ.ศ. 2450 ให้โรงเรียนประถมที่ไม่มีแผนมูลศึกษาจัดชั้นเตรียมอีก 1 ชั้นได้ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าประโยคมูลศึกษาตามโครงการศึกษา พ.ศ. 2445 และชั้นเตรียมโครงการศึกษา พ.ศ. 2450 ชั้นเด็กเล็กนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าการศึกษาปฐมวัยได้พัฒนาเรื่อยมา โดยระยะแรกของชั้นมูลหรือโรงเรียนมูลศึกษาหรือชั้นเตรียมประถม จนกระทั้งในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ได้พัฒนาขึ้นในรูปของการอนุบาล(Kindergarten) ตามแนวคิดของเฟรอเบล และมอนเตสซอรี่ ซึ่งได้นำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีหลักฐานที่ค้นพบคือ หลักการเกี่ยวกับการสอนเด็กในหนังสือนรางกุโรวาท ของประเสริฐอักษร เมื่อ พ.ศ. 2453 ซึ่งมีการกล่าวถึงการสอนเด็กอายุระหว่าง 1-7 ปี

2.ประวัติการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาล
การศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดของเฟรอเบลและมอนเตสซอรี่ ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยและเริ่มจัดดำเนินงานโดยโรงเรียนราษฎร์เป็นส่วนใหญ่ โรงเรียนราษฎร์ที่เปิดแผนกอนุบาลขึ้นได้แก่ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โรงเรียนราชินี และโรงเรียนมาร์แตร์เดออี

โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย หรือโรงเรียนวังหลัง
2.1 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย หรือโรงเรียนวังหลัง ได้จัดตั้งขึ้นโดยศาสนทูตอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในเมืองไทย ครั้งแรกได้จัดการศึกษาสำหรับเด็กชายและขยายต่อมาถึงการศึกษาสำหรับเด็กหญิง หลายปีต่อมาโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยจึงได้จัดตั้งแผนกอนุบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2454 นับเป็นโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกที่เปิดขึ้นและดำเนินการโดยนางสาวโคลด์

โรงเรียนราชินี
2.2 โรงเรียนราชินี เป็นโรงเรียนแห่งที่ 2 ที่เปิดแผนกอนุบาลขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2466 และเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ดำเดินการโดยคนไทย คือ ม.จ. หญิง พิจิตรา จิราภา เทวกุล ซึ่งเป็นศิษย์ของมิสโคล์ด รับเด็กอายุ 3-5 ปี ทำการสอนตามแนวของมอนเตสวอรี่และเฟรอเบลตามที่ได้ศึกษามาจากประเทศญี่ปุ่น มุ่งสอนให้เด็กช่วยตัวเอง เช่น ล้างหน้า แปรงฟัน ใส่-ถอดกระดุมเสื้อ เอาใจใส่ดูแลเรื่องอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย   ฝึกการฟ้อนรับ และศิลปะแบบไทย โรงเรียนรานิชีแผนกอนุบาลมีชื่อเสียงมากเกี่ยวกับการฟ้อนรำและการละครนำออกแสดงให้ชาวต่างประเทศชมและได้รับคำชมเสมอ

นักเรียนโรงเรียนมาร์แตร์เดอี
2.3 โรงเรียนมาร์แตร์เดอี ได้เปิดรับนักเรียนอนุบาลในปี พ.ศ. 2470 นับเป็นโรงเรียนแห่งที่ 3 ที่เปิดแผนกอนุบาล รับนักเรียนชาย-หญิง โดยใช้แนวสอนตามแบบอย่างของประเทศอังกฤษ คือแบบเฟรอเบล ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมาแมร์เทเรซา ชาวเบลเยี่ยม ได้เคยเป็นครูสอน ณ ประเทศอังกฤษ จึงได้นำเอาวิธีการสอนตลอดจนระเบียบการจัดชั้นเรียนมาเป็นแนวการสอนของโรงเรียน และที่โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงศึกษาเล่าเรียนชั้นอนุบาลในสมัยทรงพระเยาว์

2 ความคิดเห็น:

  1. หน้าเว็บนี้...ยังต้องปรับภาพให้เข้ากับเรื่องราวที่นำเสนอ นะคะ
    เอ้า สู้ๆๆ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณคะอาจารย์ ^___^

    ตอบลบ