การจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศ





การจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศ
        ประเทศไทยมีการจัดการศึกษาปฐมวัยมานานแล้ว  โดยเจ้านายเชื้อพระวงศ์เข้ามาเรียนในโรงเรียนราชกุมารี  ส่วนชาวบ้านก็นิยมนำลูกไปฝากที่วัด  ต่อมาเมื่อมีการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบจึงมีชั้นมูลศึกษาเกิดขึ้น  และมีโรงเรียนราษฎรที่จัดการศึกษาปฐมวัย  ได้แก่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย  โรงเรียนราชินี  และโรงเรียนมาร์แตร์เดอีได้เริ่มเปิดการสอนแผนกอนุบาลขึ้นโดยนำวิธีการสอนแบบเฟรอเบลและมอนเตสเซอรี่มาเป็นตัวอย่าง
โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
โรงเรียนราชินี ในอดีต
           

มุมมองจากแม่น้ำเจ้าพระยา

ในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐบาลได้แต่งตั้งโรงเรียนอนุบาลของรัฐ แห่งแรกในปี  พ.ศ.2483  คือ  โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ  และยังคงดำเนินการสอนอยู่จนปัจจุบันและตั้งแต่ปี  พ.ศ.2498  เป็นต้นมา  รัฐบาลเริ่มมีนโยบายส่งเสริมให้โรงเรียนเอกชนเปิดการสอนระดับอนุบาลศึกษาขณะเดี่ยวกันหน่วยงานต่างๆ ก็เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษาในระดับนี้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดเตรียมความพร้อมให้เด็กในวัยนี้หลากหลายรูปแบบ  มีทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาโดยตรงและหน่วยงานอื่นๆร่วมกันดำเนินงาน


1. นโยบายของการศึกษาปฐมวัยในอดีต
         นโยบายของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยตั้งแต่อดีตสาสมรถศึกษาได้จากแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติในแต่ละสมัยที่ผ่านมาได้ดังนี้
        1.1 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 3  (พ.ศ.2515  - 2519) ระบุไว้ว่า  จะปรับปรุงคุณภาพของโรงเรียนอนุบาลของรัฐให้ดีขึ้น  เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เอกชนละมีการเปิดโรงเรียนอนุบาลในอำเภอใหญ่ที่ความเจริญทางเศรษฐกิจและมีประชากรหนาแน่น
         1.2  แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่  4 (พ.ศ. 2520 -  2524)  ระบุไว้ว่า  การศึกษาอนุบาลนั้นรัฐจะไม่ดำเนินการแต่จะกำหนดระเบียบในการจัดการศึกษาอนุบาลให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษามากยิ่งขึ้น  ซึ้งสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับพุทธศักราช  2520  ที่มีรายละเอียดระบุไว้  ดังนี้
          “16.  รัฐพึงเร่งจัดและสนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูเด็กในวัยก่อนประถมศึกษาโดยรัฐจะสนับสนุนให้ท้องถิ่นและภาคเอชนจัดให้มากที่สุด  สำหรับการจัดการศึกษาระดับนี้ของรัฐจะจัดเพียงเพื่อเป็นตัวอย่างและเพื่อการค้นคว้าวิจัยเท่านั้น
           “30. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาเป็นการศึกษามุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษาภาคบังคับ  เพื่อเตรียมให้มีความพร้อมทุกด้านดีพอที่จะเข้ารับการศึกษาต่อไป  การจัดสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานั้นอาจจะเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน  หรือการศึกษานอกโรงเรียน โดยอาจจะเป็นสถานรับเลี้ยงดูเด็กหรือศูนย์เด็กปฐมวัย และในบางกรณีอาจจัดเป็นชั้นเด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลได้
            1.3  แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 5 ( พ.ศ. 2525  -  2529)  ก็ได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยไว้เช่นกัน  โดยได้เน้นถึงความสำคัญของเด็กก่อนวัยปฐมศึกษาเป็นเป้าหมายสำคัญ  ทั้งนี้เพราะเด็กวัยนี้กำลังประสบปัญหาในเรื่องขาดอาหาร ขาดหลักประกันทางสาธารณสุขและทางด้านการศึกษา  ฉะนั้นรัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า  รัฐจะสนับสนุนให้ท้องถิ่นและเอกชนจัดให้มากที่สุด โดยรัฐจะจัดให้มากที่สุดโดยรัฐจะจัดทำเพียงเพื่อเป็นตัวอย่าง การจัดการศึกษามุ่งเสริมสร้างการโภชนาการที่ถูกต้องและเตรียมความพร้อมทุกด้านเพื่อเข้ารับการศึกษาระดับต่อไป
               1.4  แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.  2530  - 2534)   ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาไว้ว่า  รัฐจะมุ่งขยายการจัดการศึกษาระดับนี้ไปสู่ส่วนภูมิภาคชนบท  ส่งเสริมให้เอกชนจัดโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กวัย  35 ปี  ให้มากขึ้น  และรัฐจะส่งเสริมให้เอกชนจัดโรงเรียนอนุบาลให้โรงเรียนร่วมกับชุมชนดำเนินการในพื้นที่มีปัญหาทางการศึกษาทางเศรษฐกิจ และพื้นที่ชนบทสำหรับในเขตเมืองจะจัดเป็นตัวอย่างและเพื่อการวิจัย โดยมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมของเด็ก
                1.5 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่  7  (พ.ศ. 2535  -  2539)  กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมวัยไว้ว่า  เพื่อจัดและส่งเสริมให้เด็กก่อนประถมศึกษาได้รับการพัฒนาทางร่างกาย  จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้สอดคล้องหลักจิตวิทยาพัฒนาการ  และให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษาอย่างทั่วถึง
              1.6  แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่  8 (พ.ศ.  2540  - 2544 )  ระบุบการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกันจะต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยไปจนตลอดชีวิต และกำหนดเป้าหมายว่าเด็กปฐมวัยทุกคนต้องได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างน้อยปีก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา  และขยายการบริการการศึกษาปฐมวัย (35 ปี )จากร้อยละ  65  เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ  90   นอกจากนี้ในส่วนของเด็กปฐมวัยจึงได้กำหนดเป้าหมายไว้คือ  เพิ่มปริมาณการเตรียมความพร้อมทุกด้านของเด็กปฐมวัย ( 05 ปี )  อย่างมีคุณภาพระบุว่าจะมีการเตรียมความพ้อมโดย
1)            สนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชน  คู่สมรส   พ่อแม่มีความรู้เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวและวิธีดูแลลูกที่ถูกต้อง  เหมาะสม  โดยมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานการดำเนินงานไปในทิศทางเดี่ยวกัน
2)            สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับบริการการเตรียมความพร้อมในรูปแบบต่างๆ เช่น  ศูนย์พัฒนาเด็ก   สถานรับเลี้ยงเด็กในที่ทำงานและสถานประกอบการ  โดยดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐ  เอกชน  ชุมชน  และครอบครัว
3)            สนับสนุนให้เด็กทุกคนได้รับการส่งเสริมด้านโภชนาการอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ
               1.7  แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่  9 (พ.ศ. 2545  -  2559) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดล เพื่อเป็นฐานหลักของพัฒนา  และกำหนดนโยบายหลักเพื่อการดำเนินการว่า  มีการพัฒนาทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้โอกาสเข้าถึงการเรียนรู้โดยกำหนดเป้าหมายให้เด็กปฐมวัยอายุ  05 ปี ได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมทุกด้านเข้าสู่ระบบการศึกษา  และกำหนดกรอบการดำเนินงานคือ
                           1. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยในรูปแบบที่หลากหลาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้การศึกษาแก่พ่อแม่ผู้ปกครอง  รวมทั้งผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่
                           2.  ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาปฐมวัยให้มีคุณภาพ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนารากฐานพัฒนาการของทุกชีวิตอย่างเหมาะสม
                           3. จัดบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบ  นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่หลากหลายเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตามความต้องการและความสนใจ

                 จะเห็นได้ว่าตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ผ่านมารัฐได้มีนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องและพัฒนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆคือ ในช่วงแผนการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่  3, 4  และ 5 (พ.ศ. 2515  -  2529 ) รัฐยังไม่ได้รับภาระในการจัดการศึกษาปฐมวัยและสนับสนุนให้เอกชนดำเนินการ ส่วยแผนพัฒนาการการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 รัฐได้ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาปฐมวัยเพิ่มมากขึ้นคือ  นอกจากสนับสนุนให้เอกชนจัดแล้วรัฐยังสนับสนุนให้โรงเรียนของรัฐในท้องถิ่นห่างไกล  จัดการศึกษาในระดับนี้เพิ่มมากขึ้นจนกระทั้งถึงแผนที่  7, 8 และ 9 เน้นการพัฒนาเด็กเพื่อเตรียมความพร้อมในทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์  สังคม  สติปัญญา   อย่างสมดุลในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในระบบ และนอกระบบ และให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาแก่พ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับลูกตั้งแต่แรกเกิดถึง  5 ปี



           



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น