การจัดการศึกษาปฐมวัยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การจัดการศึกษาปฐมวัยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดตั้งโรงเรียนราชกุมารขึ้นในปี ร.ศ. 111(พ.ศ.2435) และโรงเรียนราชกุมาร ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436) ขึ้นสำหรับเป็นสถานศึกษาของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอที่ยังทรงพระเยาว์ และมีแนวความคิดในการจัดที่มุ่งเสริมให้มีการสร้างแรงจูงใจให้แก่เด็ก ให้ใช้วิธีการสอนที่ทำให้เด็กเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน
การพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทยเริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ได้เป็นองค์ก่อตั้ง โรงเลี้ยงเด็กเป็นแห่งแรกในปี พ.ศ.2433 โดยพระองค์ทรงบริจาคทรัพย์ซื้อทั้งที่ดินและตึกโรงเรือนต่างๆ ซ่อมแซมและก่อสร้างบริเวณและเครื่องใช้เครื่องต่งทั้งปวงบริบูรณ์พร้อมเสร็จ จัดเป็นโรงสำหรับเลี้ยงเด็กขึ้นที่ตรอกโรงเลี้ยงเด็กตำบลสวนมะลิ ริมถนนบำรุงเมือง เพื่อจัดการบำรุงเลี้ยงทารกเด็กชาย หญิง บุตรคนยากจน ต่อมาในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แนวคิดการจัดการปฐมวัยศึกษาก็ได้ถูกนำมาใช้ในโรงเรียนอนุบาล ทั้งนี้หน่วยงานที่นำมาใช้จะเป็นโรงเรียนราษฎร์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมารัฐบาลได้มีการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลของรัฐขึ้นป็นแห่งแรกคือโรงเรียนละอออุทิศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมากจนทำให้รัฐต้องขยายไปจนทั่วทุกจังหวัด
                                                                            พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์

ความต้องการบริการด้านสถานศึกษาปฐมวัยและสถานรับเลี้ยงเด็กนับวันจะยิ่งเป็นที่ต้องการมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากการพัฒนาประเทศที่มุ่งไปพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ทำให้แม่บ้านต้องออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น เพื่อหารายได้มาช่วยเหลือครอบครัว นอกจากนี้สตรียังได้รับการยอมรับในตลาดแรงงานมากขึ้นในหลานสาขาอาชีพ ประกอบโครงสร้างของครอบครัวก็เปลี่ยนแปลงไปจากครอบครัวขนาดใหญ่ กลายมาเป็นครอบครัวขนาดเล็ก ส่งผลให้เด็กเล็กขาดแม่หรือผู้ใหญ่ในครอบครัวช่วยดูแล (เอกสารอัดสำเนาคู่มือผู้ดำเนินงานศูนย์เด็กเล็ก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2542, น. 7)

1 ความคิดเห็น: